วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันวิชาการ

1. ความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ            งานวิชาการเป็นหัวใจของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา  ส่วนงานด้านอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สถาบันดำเนินไปด้วยความราบรื่นเท่านั้น  ผู้บริหารการศึกษาทุกคนควรจะรับผิดชอบเป็นผู้นำของครูในด้านวิชาการเป็นอันดับแรก  เพราะหน้าที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกแห่ง คือ  การให้ความรู้แก่นักเรียนในด้านวิชาการ  โดยการทำงานร่วมกับครู  กระตุ้นเตือนครูให้คำแนะนำครู  และประสานงานให้ครูทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในการสอน  งานวิชาการเป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษา  ไม่ว่าสถานศึกษาจะเป็นประเภทใด  มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ  เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร  การจัดโปรแกรมการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อม ก็อยู่ที่ลักษณะของงานนั้น                ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า   งานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา เพราะจุดมุ่งหมายของสถานศึกษาก็คือ  การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ  ซึ่งขึ้นอยู่กับงานวิชาการทั้งสิ้น  งานวิชาการเป็นกิจกรรมการจัดการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  แบบเรียน  งานการเรียนการสอน  งานสื่อการเรียนการสอน  งานวัดผลและประเมินผล  งานห้องสมุด  งานนิเทศการศึกษา  งานวางแผนการศึกษา  และงานประชุมอบรมทางวิชาการ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประวัติลูกเสือ

ภาพพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง
           จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง” 

ประวิติส่วนตัว

                                                 

                                                         ชื่อ  ด.ช  บุญญฤทธิ์     เพิ่มญาติ
                                                                            อายุ 15
                                                                        ชื่อเล่น เป้ง
                                                      วัน เดือน ปี เกิด    2  มีนาคม  2543
                                                 บ้านเลขที่  37    หมู่ 4  ตำบล  หนองโสน
                                                                 อาหารที่ชอบ  ไข่ดาว
                                                                       สีที่ชอบ   แดง
                                                                        ส่วนสูง  173
                                                 Email    pang_loveza.2543@hotmail.com